วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันคริสต์มาส




ประวัติ
ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 23 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิซาไกกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 - ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

องค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสคำอวยพร
คำอวยพรสำหรับเทศกาลคริสมาสใช้ คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย

ซานตาคลอส
นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะมาวันหนึ่ง เป็นวันคริตส์มาสเซนต์จึงเดินทางแจกของขวัญให้กับเด็กๆอย่างมีความสุข

ต้นคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก

เพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งผู้แต่งมีทั้งพระสงฆ์และฆราวาส เนื้อร้องเป็นภาษาละติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีการแต่งในท่วงทำนองที่ร่าเริงสนุกสนานมากขึ้น เริ่มจากประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้สนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาส เพลงเหล่านี้มีทั้งที่เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่นิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ (Joseph Mohr) เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ (Oberndorf) ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวัดเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ จึงมีการแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ นำไปเพื่อนชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ (Franz Gruber) ใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยมีการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

การทำมิสซาเที่ยงคืน
เมื่อพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 23 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส)ในปี นั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระ เยซูเจ้าประสูติ พอไปถึงก็เป็นเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเสร็จแล้วก็กลับมาที่พักเป็นเวลาเช้ามืดราวๆ ตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ก็ยังมีสัตบุรุษหลายคนที่ไม่ได้ไป พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ใน โอกาสวันคริสต์มาสด้วย

เทียนและพวงมาลัย
ในสมัยก่อนมีกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมัน ได้เอากิ่งไม้มาประกอบ เป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะมารวมกัน ดับไฟ แล้วจุดเทียนเล่มหนึ่ง สวด ภาวนาและร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกัน เขาจะทำดังนี้ทุก อาทิตย์จนครบ 4 อาทิตย์ก่อน คริสต์มาส ประเพณีนี้เป็นที่นิยม และแพร่หลายในที่หลายแห่ง โดยเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งต่อมา มีการเพิ่ม โดยเอาพวงมาลัยพร้อมกับเทียนที่จุดไว้ตรง กลาง 1 เล่มไป แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อช่วย ให้คนที่ผ่าน ไปมา ได้ระลึกถึงการเตรียมตัวรับวันคริสต์มาสที่ใกล้เข้ามา และพวงมาลัยนั้นยังเป็น สัญลักษณ์ที่คน สมัยโบราณใช้หมายถึงชัยชนะ แต่ในที่นี้หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างครบ บริบูรณ์ตามแผนการณ์ ของพระเป็นเจ้า.

เรียนภาษาฝรั่งเศสกันเถอะจ๊ะ!!!!!



เรียน Francais

               ภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเรียนไทยมากอีกภาษาหนึ่ง น่าเสียดายที่ระยะหลังสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนกลายเป็นห้องที่รองรับนักเรียนที่ "เรียนอะไรไม่ได้แล้ว" จึงมาเรียนภาษาฝรั่งเศส ทุกคนสามารถเรียนภาษาฝรั่งเศสได้ แต่ถ้าจะเรียนให้ได้ดีนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย จึงไม่แปลกที่นักเรียนกว่า 80% จะทิ้งภาษาฝรั่งเศสเมื่อเรียนจบ ม. 6 และมีนักศึกษาที่จบปริญญาตรีไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถนำภาษาฝรั่งเศสมาใช้จริงในโลกแห่งการทำงาน
คนที่จะเรียนภาษาฝรั่งเศสให้ได้ดีนั้น ต้องมีความอดทน เพราะไวยากรณ์ภาษาฝรั่งเศสมีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หากไม่ตั้งใจเรียนอย่างต่อเนี่องก็จะไม่ประสบความสำเร็จ
นักเรียนที่คิดจะเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศส ขอให้รู้ว่า
1. ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มี 2 เพศ นอกจากจะต้องท่องคำศัพท์แล้วจะต้องท่องด้วยว่า คำ ๆ นั้นเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เช่น โต๊ะ = une table เป็นเพศหญิง แทนที่จะท่องแค่ Table เหมือนภาษาอังกฤษ ก็ต้องท่องว่าเป็นเพศหญิงเพิ่มเติม ถ้าท่องเพศผิดจะมีผลต่อโครงสร้างประโยคด้วย แค่เรื่องศัพท์ก็หนักกว่าภาษาอังกฤษ 2 เท่า
2. ภาษาฝรั่งเศสมีการกระจายกริยาที่ซับซ้อนกว่าภาษาอังกฤษ เช่น v.être ที่แปลว่าเป็นอยู่คือ ภาษาอังกฤษ verb to be ในกาลปัจจุบัน คือ is am are ส่วนภาษาฝรั่งเศส แค่ช่องปัจจุบันช่องเดียว มีรูปกริยาถึง 6 แบบที่ผันตามประธาน คือ
Je suis
tu es
il/elle est
nous sommes
vous êtes
ils/elles sont
ถ้ารวมการผันกริยาในกาลอื่น ๆ เข้าไปอีก กริยา 1 ตัว จะมีรูปให้จำถึงกว่า 50 รูป โชคดีที่มีกฎเพื่อการกระจายกริยามาช่วย ทำให้การกระจายกริยาเป็นระบบระเบียบพอสมควร ผู้เรียนจึงต้องใส่ใจที่จะจำกฎ เพราะถ้าจำกฎไม่ได้ การกระจายกริยาก็จะทำให้ชีวิตการเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นเรื่องทรมานที่สุด
นี่เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ของ "ธรรมชาติ" ภาษาฝรั่งเศส ที่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีของคนที่ "เรียนอะไรไม่ได้แล้ว" จึงมาเรียนภาษาฝรั่งเศส คนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตจะต้องทุ่มเท สม่ำเสมอกับการเรียน และจะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งฟัง พูด อ่าน และเขียน จึงจะสามารถออกมาหางานทำเงินเดือนดี ๆ ได้ ล่าสุดภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากคนฝรั่งเศสนิยมมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น สถิติจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่า ปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวจากฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นถึงกว่า 29% ดังนั้นภาษาฝรั่งเศสจึงเป็นภาษาที่มีอนาคตดีอีกภาษาหนึ่งทีเดียว

เหตุผลที่ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส จากสมาคมครูฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย
ข้อมูลการเปิดสอนภาษาฝรั่งเศสในสถาบันการศึกษา
รศ. ดร. ธิดา บุญธรรม และ ดร. จงกล สุภาเวชย์
 ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศํกราช 2544 ภาษาอังกฤษได้รับการกำหนดให้เป็นสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนในทุกระดับ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุน จีน และภาษาอื่นๆ ได้ถูกกำหนดให้เป็นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งผู้เรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งผู้เรียนที่เน้นทางภาษาและผู้เรียนที่เน้นทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สามารถเลือกเรียนได้ 1 ภาษาควบคู่กับการเรียนภาษาอังกฤษ ตามความสนใจ หรือตามที่คิดว่าจะใช้ภาษานั้นในการประกอบอาชีพ หรือในการศึกษาค้นคว้าในอนาคต ทั้งนี้การเปิดสอนภาษาใด เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของโรงเรียนว่ามีครูผู้สอนที่มีวุฒิในภาษานั้นหรือไม่
 ในระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนมีคณะต่างๆ ที่เปิดสอนภาษาฝรั่งเศสต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษา ผู้เรียนสามารถเลือกภาษาฝรั่งเศสเป็นวิชาหนึ่งในสามวิชาในการสอบ A NET เพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย
 ในประเทศไทย ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศที่มีผู้เลือกเรียนมากเป็นอันดับ 1 แต่ละปีมีผู้เลือกเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากกว่า 41000 คน เหตุผลในการเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสโดยทั่วไปก็คือ เป็นภาษาที่มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล อยากไปเที่ยวประเทศฝรั่งเศส เพราะเป็นดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรมสวยงามมาก อยากร้องเพลง อ่านป้ายสินค้า เครื่องสำอาง น้ำหอมฝรั่งเศสได้ และอยากรับประทานอาหารฝรั่งเศส เพราะมีชื่อเสียงระดับโลกว่าอร่อย น่ารับประทาน และมีวิธีรับประทานที่หรูหรา ต้องดื่มเหล้าองุ่นขาวหรือองุ่นแดงแล้วแต่ประเภทอาหาร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมในการรับประทานที่เป็นที่ยอมรับในสังคมชั้นสูง นั่นคือความสนใจเบื้องต้น
 การเลือกเรียนภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งภาษา ควบคู่กับภาษาอังกฤษ ควรมีวิจารณญาณและเหตุผลที่ชัดเจนในการเลือก เห็นความสำคัญและประโยชน์ีที่กว้างขวาง มิใช่การเลือกตามแฟชั่น ผู้เรียนทุกคนคงอยากจะนำภาษาที่เรียนไปใช้ได้ในหลายๆ ประเทศ ภาษาฝรั่งเศสมิได้ใช้พูดเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น ภาษาฝรั่งเศสใช้พูดใน 35 ประเทศในโลก ประเทศเหล่านี้กระจายอยู่ใน 5 ทวีป ประชากร 120 ล้านคนพูดภาษาฝรั่งเศส เช่น ในยุโรป มีประเทศใหญ่ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสคือ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สวิสเซอร์แลนด์ ลักเซ็มเบิร์ก ประเทศเล็กๆ ที่ได้ยินการกล่าวขวัญบ่อยๆ คือ โมนาโค ก็ใช้ภาษาฝรั่งเศส ทวีปอเมริการเหนือภาษาฝรั่งเศสใช้ในประเทศคานาดา ที่เมืองควิเบค และมอนทรีล ในประเทศอเมริกา ที่เมือง หลุยส์เซียน่า ในอเมริกาใต้ ที่เกาะกัวเดอลู มาร์ตินิค เฟร้นช์กิอาน่า ในทวีปอาฟริกามีอาณานิคมเก่าของฝรั่งเศสจำนวนมากที่ยังใช้ภาษาฝรั่งเศส ในเอเซีย ภาษาฝรั่งเศสยังคงใช้อยู่ในประเทศลาว เวียตนาม และกัมพูชา หากท่านคิดว่าอาจจะติดต่อทางธุรกิจกับ 35 ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสหรือจะไปเที่ยวในประเทศเหล่านี้ ก็ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรืออียู 25 ประเทศ ก็ยังใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งควบคู่กับภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน
 การเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้า วิจัย ตักตวงความรู้ทางวิทยาการและเทคโนโลยี ควรเรียนภาษาฝรั่งเศส เพราะประเทศฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม แคนาดา มีความก้าวหน้าสูงมากในหลายๆ ด้าน เช่น ทางด้านวิศวกรรม การสร้างจรวด อาวุธ ดาวเทียม อวกาศ เคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง การแพทย์ เวชภัณฑ์ การทำศัลยกรรมพลาสติก การเกษตร การตัดต่อพันธุกรรม สถาปัตยกรรม การวางผังเมือง การออกแบบตกแต่งภายใน ฯ
 สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ ควรเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง เพราะกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสเป็นแม่บทกฎหมายที่สำคัญของโลก
 ภาษาฝรั่งเศสมีประโยชน์ต่อการเรียนทางด้านวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อทางด้านอักษรศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ครุศาสตร์ โบราณคดี นิเทศศาสตร์ ศิลปกรรม การออกแบบ ด้านแฟชั่น การโรงแรม การท่องเที่ยว การประกอบอาหาร (restauration)
 นอกจากนี้ ภาษาฝรั่งเศสยังเป็นภาษาราชการหนึ่งขององค์การระหว่างประเทศ เป็นภาษาของการกีฬาโอลิมปิค เป็นภาษาราชการของการไปรษณีย์สากล
 การทำธุรกิจการค้าของประเทศไทย ควรเปิดตลาดการค้ากับประเทศที่่ใช้ภาษาฝรั่งเศส เพราะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะกับประเทศต่างๆ ในทวีปอาฟริกา ซึ่งมีพลเมืองหนาแน่นและมีทรัพยากรน้ำมัน ขณะนี้บริษัทใหญ่ของฝรั่งเศสได้เข้ามาค้าขายทำธุรกิจในประเทศไทยมากกว่า 350 บริษัท สินค้าไทยส่งไปขายในฝรั่งเศสปีละหลายพันล้าน ไทยไม่เคยเสียดุลย์การค้ากับประเทศฝรั่งเศส
 นักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเข้ามาเที่ยวและใช้เวลาพักผ่อนในประเทศไทยโดยเฉลี่ยประมาณ 7-10 วัน มากกว่าปีละ 3 แสนคน มีโรงแรมในเครือของฝรั่งเศสมาตั้งในประเทศไทยหลายโรง เราจึงจำเป็นต้องสร้างบุคลากรที่สามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจ การโรงแรม การท่องเที่ยว การประกอบอาหาร ภาษาฝรั่งเศสมีหลักสูตรพร้อมสำหรับการศึกษาอาชีพในด้านเหล่านี้
 อนึ่ง เพื่อเป็นการสร้างเยาวชนยุคใหม่ให้มีความรู้ทางวิทยาการและเทคโนโลยีหลากหลาย ในปี 2547 รัฐบาลไทยจึงได้ส่งนักเรียนทุน "หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน" ไปเรียนในประเทศต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ นักเรียนทุนรวม 923 คน เลือกไปศึกษาต่อในประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสดังนี้ เลือกประเทศฝรั่งเศส 164 คน เลือกสมาพันธรัฐสวิส 25 คน และเลือกราชอาณาจักรเบลเยี่ยม 23 คน ในอนาคตเยาวชนไทยเหล่านี้จะใช้ภาษาฝรั่งเศส และนำวิทยาการจากประเทศที่เรียนมาใช้ในการพัฒนาประเทศ คาดว่าทุนรัฐบาลไทยในปี 2549 จะมีผู้เลือกไปเรียนในประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากเหมือนเดิม เพราะเป็นประเทศผู้นำทางเทคโนโลยี
 รัฐบาลฝรั่งเศส และประเทศใหญ่ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสให้ทุนแก่ผู้ที่เรียนภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากในแต่ละปีแก่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา ทั้งผู้เรียนทางภาษา และคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นทุนระยะสั้นเพื่อไปเรียนภาษาและทัศนศึกษา ระดับอุดมศึกษาก็ให้ทุนในรูปแบบต่างๆ ด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม การเกษตร การใช้ไอที ฯลฯ
 เหตุผลประการสุดท้ายในการเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสก็คือ การเรียนการสอบภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 30 ปี ครูภาษาฝรั่งเศสจำนวน 500 กว่าคน ได้รับทุนไปฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศสทั้งระยะสั้น 1-2 เืดือน ระยะยาว 7-9 เดือน ทุนศึกษาปริญญาโท 20 เดือน ครูทุกคนมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสระดับปริญญาตรี ประมาณ 20% มีความรู้ปริญญาโท ปริญญาเอก และครู ประมาณ 50%ได้ไปรับการอบรมในประเทศฝรั่งเศสถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังได้หมุนเวียนกันเข้ารับการอบรมในประเทศทุกปิดภาคเรียน เช่น หลักสูตรพัฒนาภาษา หลักสูตรพัฒนาเทคนิคการสอน หลักสูตรผู้นำทางวิชาการ หลักสูตรการใช้ไอทีในการสอน เพื่อการอบรมขยายผลต่อในระดับท้องถิ่น ครูภาษาฝรั่งเศสจึงมีความพร้อมด้านคุณวุฒิ การสอนภาษาฝรั่งเศสนี้ได้รับการดูแลอย่างดี จากศึกษานิเทศก์ภาษาฝรั่งเศส สำนักฑูตวัฒนธรรมฝรั่งเศสและสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในแต่ละปีรัฐบาลฝรั่งเศสให้ความสนับสนุนด้านทุน สำหรับครู นักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน เพื่อไปฝึกอบรม ทัศนศึกษา และดูงานในประเทศฝรั่งเศส การสอนภาษาฝรั่งเศสมีสื่อการเรียนที่น่าสนใจ สอดคล้องกับหลักสูตรใหม่ กิจกรรมการเรียนการสอนสนุกสนาน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาเดียวที่จัดงานชุมนุมนักเรียนระดับประเทศทุกๆ ปี เพื่อให้นักเรียนได้มาแสดงความสามารถทางภาษาและสนุกสนานร่วมกัน ในงานนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์นายกกิตติมศักดิ์ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยเสด็จเป็นประธาน พระราชทานรางวัลแก่ผู้ชนะการ

http://www.bonjourajarnton.com/

link

sanpatongwittayakom
fakkwanwittakom
satitCMU

C'est moi

Bonjour!!!!!!!!!!!!!
             Je m'appelle Rattana  DEACHABOON.  Je suis professeur de français à l'école Fakwanwittayakom. Je suis heureuse de travailler à cette l'école. J'aime lire et écouter la musique quand je suis libre A bientôt!!!!!!!!! Au revoir..............